SPF (Sender Policy Framework) เป็นระบบที่ช่วยป้องกันการดักจับ Spam Mail วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ทั้งหลาย เช่น Gmail, Hotmail (Outlook), Yahoo เป็นต้น ซึ่งเราควรตั้งค่า SPF Record ของโดเมนเราไว้เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ว่า เมล์ที่เราส่งไปนั้นไม่ไปอยู่ใน Junk Folder และทำให้ไม่พลาดการติดต่อสื่อสาร หากเมล์นั้นเป็นเมล์สำคัญของผู้บริหาร
หลักการทำงานขออธิบายเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. ระบบ Mail Server ฝั่งผู้รับ
จะขอยกตัวอย่างระบบของ gmail ซึ่งมีการตรวจสอบเมล์ที่รับเข้ามาทุกฉบับว่ามีการตั้งค่า SPF ของโดเมนผู้ส่งหรือไม่ การตั้งค่า SPF ของโดเมนผู้ส่งจะอธิบายในข้อต่อไป
หากโดเมนของผู้ส่งไม่ได้ทำการตั้งค่า SPF Record ใน DNS ระบบของ gmail จะแสดงค่า SPF เป็น neutral (เป็นค่ากลาง ๆ ที่ไม่ระบุว่าเป็น Spam Mail หรือไม่) และจะตรวจสอบว่าเป็น Spam Mail ด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเมล์อาจจะอยู่ใน Inbox หรือ Junk ก็ได้ ในกรณีเมล์ฉบับนี้มันถูกส่งไปอยู่ใน Junk ครับ
รูปต่อไป เป็นรูปที่โดเมนผู้ส่งมีการทำ SPF Record ไว้ใน DNS แล้ว แต่ gmail ตรวจสอบพบว่าเมล์ไม่ได้ถูกส่งมาจาก Mail Server ที่ระบุไว้ใน SPF Record ในกรณีนี้มันก็ถูกส่งไปอยู่ใน Junk
รูปต่อไปเป็นเมล์ที่ถูกส่งออกมาจาก Server ที่ระบุไว้ใน SPF Record เป็นเมล์ฉบับเดียวกับด้านบน แต่มันผ่านไปอยู่ใน Inbox ได้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบ SPF Record
2. ตั้งค่า SPF Record ใน DNS ของโดเมนของผู้ส่ง
ตัวอย่างค่า SPF Record ของ zimphony.com เป็นดังนี้
zimphony.com. TXT v=spf1 +a:mail.zimphony.com +a:zimbra8.zimphony.com -all
ความหมายก็คือ เฉพาะ IP Address ของ mail.zimphony.com และ zimbra8.zimphony.com เท่านั้นที่ถือว่าเป็นเมล์ที่ถูกส่งออกโดยถูกต้อง -all คือนอกจากนั้นถือว่าเป็นการส่งจาก Server อื่นที่ไม่อนุญาติ และน่าจะเป็นการส่ง Spam Mail